เมนู

อรรถกถาปฐมมหาปัญหาสูตรที่ 7


ปฐมมหาปัญหาสูตรที่ 7

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อภิชานาถ ได้แก่ รู้ยิ่ง ทำให้ประจักษ์อยู่. บทว่า อภิญฺญาย
แปลว่า รู้ยิ่ง. บทว่า อิธ แปลว่า ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้. บทว่า
ธมฺมเทสนาย วา ธมฺมเทสนํ ความว่า พวกเดียรถีย์กล่าวว่า พวกท่าน
ปรารถนาธรรมเทศนาของเรากับพระธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือ
พระธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของเรา แล้วกล่าวว่า
ต่างกัน ก็ต่างกันอย่างไรเล่า. แม้ในบทที่ 2 ก็นัยนี้เหมือนกัน . ดังนั้น
พวกเดียรถีย์เหล่านั้นจึงตั้งลัทธิของตนเทียบกับพระศาสนาว่ามีธุระเสมอกัน
เพียงด้วยคำพูด เหมือนตั้งแท่งทองที่กลวงไว้ฉะนั้น. บทว่า เนว อภินนฺทึสุ
ได้แก่ ไม่รับรองว่าข้อนั้นเป็นอย่างนั้น. บทว่า น ปฏิกฺโกสึสุ ได้แก่
ไม่ปฏิเสธว่า ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น. เพราะเหตุไร. ได้ยินว่า พวกภิกษุ
เหล่านั้น ไม่รับรอง ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์ เป็นพวกคนบอด
รู้หรือไม่รู้. ก็พูดไป. บทว่า เนว สมฺปายิสฺสนฺติ ได้แก่ จักตอบไม่ได้.
บทว่า อุตฺตรึปิ วิฆาตํ ได้แก่ จักประสบทุกข์ยิ่งขึ้น เพราะตอบไม่
ได้. เมื่อพวกเดียรถีย์ตอบไม่ได้ ก็เกิดทุกข์. ก็คำว่า ตํ ในบาลีว่า ยถาตํ
ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ
นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยถา เป็นคำกล่าวถึงเหตุ.
อธิบายว่า พวกเดียรถีย์ ถูกถามปัญหาในสิ่งที่มิใช่วิสัย เพราะเหตุใด.
บทว่า อิโต วา ปน สุตฺวา แปลว่า ก็หรือว่า ฟังจากศาสนาของเรานี้.
จริงอยู่ เขาฟังจากศาสนานี้ คือจากพระตถาคตบ้าง จากสาวกของพระ-
ตถาคตบ้าง. บทว่า อาราเธยฺเย แปลว่า พึงยินดี. พระผู้มีพระภาคเจ้า